ประวัติ และความเป็นมาของวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร
พระปฐมเจดีย์ เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญและทรงคุณค่าของจังหวัดนครปฐม ประวัติของพระปฐมเจดีย์มีมี่มายาวนานและเชื่อกันว่าพระปฐมเจดีย์เป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ความเป็นมาของพระปฐมเจดีย์กล่าวกันว่า เริ่มต้นเมื่อสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงส่งคณะสมณฑูตเดินมทางมาจากประเทศอินเดีย ผ่านมายังดินแดนแห่งนี้เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา และผู้ที่เดินทางมาถือพระมหาเถรที่ชื่อว่าพระอุตตระเถระ ได้ทรงมาตั้งรกรากเพื่อเผยแผ่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่นี่เป็นเวลาในช่วงพุทธศตวรรตที่ 3 ก็คือในช่วงปี พ.ศ. 200-299 นั่นเอง พระปฐมเจดีย์ได้ถูฏสร้างขึ้นโดยความตั้งใจของพระอุตตระเถระในเวลานั้น ลักษณะของพระปฐมเจดีย์เป็นพระเจดีย์ที่เอาแบบมาจาก เจดีย์สาญจิแห่งประเทศอินเดีย รูปทรงเป็นบาตรคว่ำ
ครั้งเมื่อพระจอมเกล่าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ได้ทรงผนวกและธุดงส์มาถึง ทรงนมัสการพระเจดีย์สังเกตเห็นยอดปรางค์ที่สูง 42 วา ทรงเกิดความศรัทธานับแต่นั้น เมื่อทรงได้ขึ้นครองราชจึงได้ทรงดำริให้สร้างพระเจดีย์ครอบลงบนเจดีย์องค์เดิมมีความสูง 120 ซม.และยังให้สร้างพระวิหารคตและระเบียงรายล้อมรอบองค์พระปฐมเจดีย์ ทว่าสิ้นรัชสมัยเสียก่อนที่งานจะเสร็จ ช่วงรัชสมัยของพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงสานต่อความตั้งใจของพระราชบิดา และมีการสร้างเพิ่มเติมส่วนของหอระฆัง จากการปฎิสังขรครั้งใหญ่ ในช่วงรัชกาลที่ 4 สร้างหอระฆังใหม่ในรัชกาลที่ 5 พร้อมประดับกระเบื้องปฎิสังขรพระวิหาร เขียนภาพฝาผนังในช่วงรัชกาลที่ 6 มาถึงรัชกาลที่ 7ก็ทรงให้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ แต่ในส่วนของพระปฐมเจดีย์นั้นไม่ได้มีการบูรณะใหม่นับแต่สมัย รัชกาลที่ 4 มาก็เรียกได้ว่ากว่า 100 ปีผ่านไปแล้ว จึงได้มีการซ่อมแซมใหม่โดยกรมศิลปากรในปีพ.ศ. 2518 ใช้เวลาถึง6 ปีมาเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2524
ความสำคัญที่แท้จริงขององค์พระปฐมเจดีย์คือ เป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปอันสำคัญของบ้านเมืองเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่โบราณคือพระร่วงโรจน์ฤทธิ์ถูกค้นพบโดยจพรมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งเป็นพระมงกุฏราชกุมาร ในปี พ.ศ. 2452 ที่วัดโบราณในเมืองศรีสัชนาลัย พระพุทธรูปองค์นี้มีความเสียหายและจมอยู่ใต้พื้นแต่ทรงสังเกตเห็นว่าสวยงามยิ่งจึงได้อัญเชิญกลับมายังกรุงเทพ จนกระทั่งได้ทรงครองราชจึงให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัติวงศ์ ปฎิสังขรให้สมบูรณ์งดงามและจึงอัญเชิญมาประดิษฐานที่นี่ มีพระอังคารของในหลวง ร 6 อยู่ใต้ฐานพระด้วย