ประวัติ และ ความเป็นมา ของศาสนา ชินโต
หากคุณไปที่ประเทศญี่ปุ่น สิ่งที่เห็นได้ชินตา คือประตูเสาไม้สองเสาไม้สองอันพาดอยู่ด้านบนสีแดง หรือที่เรียกว่าโทริ แสดงว่าบริเวณนั้นคือศาลเจ้าซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาชินโต โทรินั้นมีมากมายเหลือเกิน นั่นหมายถึงคนญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยเลยที่นับถือศาสนานี้ ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงประวัติ ความเป็นมาของศาสนาชินโตกัน
ศาสนาชินโตได้เกิดขึ้นประมาณ 117 ปีก่อนพุทธศักราช หรือในสมัยจักรพรรดิองค์แรกของญี่ปุ่น พระเจ้าจิมมู เทนโน แต่ก่อนนั้นญี่ปุ่นนั้นยังเป็นชนเผ่า มีหลากหลายเผ่าด้วยกันซึ่งแต่ละเผ่านั้นก็จะนับถือเทพเจ้าของตัวเอง เมื่อชนเผ่าได้รวมกัน จึงเกิดการปกครองระบอบ “ไซเซอิ-อิทธิ” ซึ่งแปลว่าการรวมศาสนาและการปกครอง หลังจากนั้นไม่นานได้มีศาสนาพุทธ และขงจื้อเข้ามาในญี่ปุ่น เพื่อจะแยกให้ชัดเจนจึงได้มีการตั้งชื่อศาสนานี้ว่า ชินโต คำว่าชินโตแท้จริงแล้วเป็นภาษาจีนจากคำว่า เชน – เต๋า แต่ออกเสียงตามสำเนียงญี่ปุ่น ซึ่ง เชนหรือชิน แปลว่า เทพเจ้า โตหรือเต๋า แปลว่าทาง รวมกันแล้วแปลว่าทางแห่งเทพเจ้า ด้วยความที่ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าตั้งแต่โบราณสืบทอดกันมา จึงไม่มีศาสดา ไม่มีคำสอนที่ตายตัว ไม่มีคำภีร์ที่แน่นอน เพราะแต่ละเทพเจ้าที่นับถือก็มีความเชื่อแตกต่างกันไป ทั้งเทพเจ้าแท้ เทพเจ้าจากมนุษย์ที่ตายไป เช่นจักรพรรดิ นักรบ เทพเจ้าแห่งทะเล เทพเจ้าแห่งขุนเขา ชินโตในระยะแรกยังไม่มีศาลเจ้ากระทั่งศตวรรษที่ รัฐบาลยะโมะโตะ3-4 รวบรวมประเทศญี่ปุ่น ชินโตแบ่งเป็น2ระดับ คือ อะมะทสึ-คะมิ(Amatsu-kami) และ คคุทสึ-คะมิ(Koukutsu-kami)โดย ฮนจิสุยจะขุ(Honjisuijaku) เป็นคำสอนแรกสมัยเฮอัน ซึ่งเป็นการรวมคำสอนของเทพเจ้า และ พระพุทธเจ้าเข้าไว้ด้วยกัน โดยให้ความสำคัญพระพุทธเจ้าเป็นหลักและเทพเจ้าเป็นรองด้วยเหตุนี้ญี่ปุ่นจึงมีศาลเจ้าและวัด มากมาย เช่นศาลเจ้าจิ้งจอก ศาลเจ้าเสือ ชาวญี่ปุ่นได้เรียกสิ่งที่เคารพเหล่านี้ว่า กามิ สะมะ หมายถึงสิ่งที่กว้างใหญ่ มีพลัง
แท้จริงแล้วหลักคำสอนของศาสนาชินโตคือ การเคารพบูชาเทพเจ้า บรรพบุรุษ จงรักภักดีต่อผู้ใหญ่หรือจักรพรรดิเป็นคุณธรรมสูงสุด ดาบญี่ปุ่นมีคมสองด้าน ด้านหนึ่งสำหรับฟันศัตรูเพื่อปกป้องผู้ใหญ่ที่รักเคารพ และด้านหนึ่งสำหรับตัวเอง หากไม่สามารถปกป้องคนที่เคารพได้ ในบทลงท้ายคือการฆ่าตัวตายหรือฮาราคีรี คว้านท้องตัวเอง ศาสนาชินโตจะเน้นเรื่องการมีอยู่ การใช้ชีวิตในปัจจุบัน แต่ส่วนศาสนาพุทธจะเน้นเรื่องชีวิตหลังความตาย ทำให้สองศาสนานี้อยู่ร่วมกันได้ในประเทศญี่ปุ่น