‘ศาสนาซิกข์’ มีต้นกำเนิดมาจากใหน และมีคำสอนอย่างไรบ้าง
‘ศาสนาซิกข์’ จัดเป็นศาสนาสำคัญหนึ่งที่มีความสำคัญ โดยคำว่า ‘ซิกข์’ มาจากภาษาสันสกฤต มีความหมายว่าแนวทางหรือแบบแผน มีต้นกำเนิดในแคว้นปัญจาบ ทางตอนเหนือของอินเดีย ในช่วงคริสต์ศตวรรษ 15 โดยท่านคุรุศาสดาพระองค์แรก ซึ่งได้รับคำนินิยามว่าเป็นทั้งศาสนาเอกเทวนิยม และ พหุเทวนิยม
คัมภีร์ของ ‘ศาสนาซิกข์’
มีคัมภีร์ที่เป็นหลักคำสอนที่มีความสำคัญจากบรมครู นั่นก็คือ ‘คุรุกรันตสาหิบ’ อีกชื่อหนึ่งเรียกว่า ‘อาทิกรันตะ’ แปลว่า ‘ฉบับแรก’ ซึ่งเขียนขึ้นโดย ‘คุรุอรชุน’ ในปีค.ศ. 1604 ส่วนคัมภีร์รุ่นสุดท้ายที่มีการเขียนเนื้อหาเพิ่มเติมเข้ามาและมีการรวบรวมจนครบองค์ประกอบโดย ‘คุรุโควินทสิงห์’ แต่ถึงกระนั้นก็ตามศาสนาซิกข์ ก็ยังมีคัมภีร์อีกเล่มหนึ่งที่ได้รับการเชิดชูว่ามีความสำคัญเป็นอันดับ 2 ก็คือ ‘ทสัมกรันตะ’ หรือ ‘Dasam Granth’
ประวัติความเป็นมาของศาสนาซิกข์
สำหรับประวัติความเป็นมา ก็มีการเริ่มต้นขึ้นโดย ‘คุรุนานักเทพจิ’ ซึ่งได้รับการยกย่องว่า ‘คุรุศาสดา’ คนแรก เกิดมาในช่วงคริสต์ศตวรรศ 15 ในภูมิภาคปัญจาบที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของอินเดียมาตั้งแต่โบราณกาล หลังจากที่เวลาผ่านไปเป็นเวลานานหลายปี ศาสนาได้มีการถูกทำให้เป็นแบบแผนมากยิ่งขึ้น โดยการสานต่อของคุรุท่านต่อๆมา โดยเฉพาะ‘คุรุโควินทสิงห์’ ในปี ค.ศ.1699 โดยศาสนิกชนกลุ่มแรกมาจากมากมายหลายสังคม หลายชาติกำเนิด ภายใต้ความเป็นมาทางสังคมที่มีความแตกต่างกัน จนกระทั่งรวมกันกลายเป็น ‘ขาลสา’ โดยสมาชิกกลุ่มจำนวนคน 5 คนแรก ที่ได้เข้ามาเปลี่ยนศาสนานั้น เรียกว่า ‘ปัญจเปียร์’
‘ศาสนาซิกข์’ เกิดมาจากความไม่ลงรอยกับกฎหมายจักรวรรดิในขณะนั้นซึ่งเป็นกฎหมายของมุสลิม เรื่องที่น่าตกใจ คือ ‘คุรุซิกข์’ ถูกประหารชีวิตอย่างน่าสังเวชเนื่องจากปฏิเสธที่จะเข้าศาสนากับอิสลาม ! ต่อมาก็ยังมีคุรุอีก 2 ท่านที่ถูกประหารชีวิตก่อนตายก็ถูกทรมานอย่างหนัก ได้แก่ คุรุอรชุน และ คุรุเตฆหบดูร์ รวมทั้งบุคคลสำคัญอื่นๆอีกมากมาย ด้วยเหตุนี้ศาสนาซิกข์จึงมีการจัดตั้งกองทัพซิกข์ขึ้นมา เพื่อปกป้องการรุกรานของจักรวรรดิโมกุล โดยอาณาจักรซิกข์ในยุคเริ่มแรก นำการปกครองโดยราชาผู้ยิ่งใหญ่นาม ‘รันจิต สิงห์’ ซึ่งสามารถก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา จากความต้านทางทางศาสนารวมกับแนวความคิดทางด้านการรวมศาสนาต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน ภายใต้ตำแหน่งของอำนาจอันมากบารมี ด้วยการก่อตั้งอาณาจักรซิกข์ และในขณะเดียวกันอาณาจักรแห่งนี้ก็ได้มีการขยายความเกรียงไกรไปอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ผู้คนจำนวนมากหันมาเปลี่ยนศาสนามาเป็นซิกข์อย่างล้นหลาม ด้วยหลากหลายเหตุผลจากทั้งความเกรงกลัวในอำนาจก็ตาม หรือจากเหตุผลในเชิงธุรกิจก็มี