เรื่องราวความเชื่อ ความหมายของศาสนา องค์ประกอบของศาสนาทั่วโลก ศาสนาเชนนับถืออะไร
ศาสนาเชน หรือ อีกชื่อคือ ไชนะ ซึ่งก็แปลว่า “ผู้ชนะ” นั่นเองหลายคนสงสัยไหมว่าคำว่า เชนนั้นมาจากไหนคำว่าเชน คือ ชื่อของศาสดาผู้ที่ทำการก่อตั้งศาสนาซึ่งในการตั้งชื่อว่าศาสนาเชนคือการที่ให้เกียรติแก่ศาสดาของศาสนาสำหรับอินเดียในปัจจุบันนั้นมีศาสนาที่สำคัญอยู่ 3 ศาสนาด้วยกัน ซึ่งนั้นก็ได้แก่ ศาสนาเชน พุทธศาสนา และ พราหมณ์ – ฮินดู หากถามถึงศาสนาเชนแล้ว ศาสนานี้ได้ถือกำเนิดขึ้นที่อนุทวีปของอินเดียก่อนคริสศักราชเสียด้วยซ่ำ หรือราวๆในศตวรรษที่ 6 สำหรับศาสนาเชนนั้นถือได้ว่าเป็นศาสนาที่มีการคัดค้านศาสนพิธีรวมไปถึงความเชื่อต่างๆในคัมภีร์พระเวทของศาสนา พราหมณ์ – ฮินดู อย่างเช่น ในเรื่องความเชื่อที่ว่า ศาสนาเชนนั้นมีประวัติความเก่าแก่มาอย่าช้านาน เพราะ พระมหาวีระ(องค์ตรีถังกร)นั้นเป็นผู้ที่สร้างทางเพื่อข้ามพ้นไปเป็นศาสดาองค์ที่ 24 ในศาสนาเชนและเป็นองค์ศาสดาองค์สุดท้ายดังนั้นก่อนหน้าพระมหาวีระนั้นมีศาสดาถึง 23 องค์ด้วยกันจึงทำให้มองว่าศาสนาเชนนั้นมีความเป็นมาอย่างยาวนานสำหรับศาสนิกชนนั้นเอง
ว่ากันว่าเมื่อศาสดามหาวีระนั้นมีพระชนมายุได้เพียง 19 พรรษา พระบิดาก็ทรงได้จัดให้มีการอภิเษกสมรสจนมีพระธิดา 1 คน กระทั่งพระมหาวีระนั้นมีพระชนมายุได้ 28 พรรษา พระบิดาและพระมารดาของพระองค์นั้นก็ได้สิ้นพระชนม์ลง จากการอดอาหารตามข้อวัตรปฏิบัติของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ซึ่งมีความเชื่อว่าเป็นบุญอย่างยิ่งทำให้พระมหาวีระนั้นทรงมีความเศร้าโศกเสียใจเป็นอย่างมากจนถึงกับได้ทำการสละพระชายาและพระธิดาของตนและทำการเปลี่ยนผ้าคลุมกายให้เหมืนดั่งนักพรต และได้ทำการเสด็จออกจากพระนคร พร้อมทรงประกาศมหาปฏิญญาในวันนั้นว่าจะทรงไม่พูดกับใครแม้แต่คำเดียวเป็นเวล่า 12 ปี จนพระองค์นั้นได้บรรลุความรู้ขั้นสูงสุดที่เรียกกันว่า “เกวลญาณ” ซึ่งถือว่าได้เป็นผู้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งสิ้นซึ่งถือว่าได้เป็นพระอรหันต์หรือผู้ชนะทั้งหมดทั้งสิ้น
หลังจากที่พระมหาวีระได้ทรงบรรลุแล้วนั้นจึงได้ทรงพิจรณาเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องทำการละปฏิญญานั้นให้กลับมาสู่สภาวะเดิม เพื่อที่จะได้ทำการพูดคุยกับผู้คนทั้งหลายเพื่อที่จะได้ช่วยกันปฏิรูป ทั้งความคิดและการประพฤติ ปฏิบัติ ของคนในสังคมเสียใหม่จึงได้เป็นจุดเริ่มต้นของการประกาศศาสนาเชน หรือ ไชนะ ซึ่งมีความหมายว่า ผู้ชนะ นั้นเองพระองค์ทรงใช้เวลาในการเผยแพร่และสั่งสอนสาวกไปตามนิคมและแคว้นต่างๆ กว่า 30 ปี และได้ทรงเข้าสิทธศิลา ซึ่งสิ่งนี้เปรียบได้กับนิพพานของศาสนาพุทธ หรือ มรณภาพ ในขณะที่พระองค์นั้นมีพระชนมายุ 72 พรรษา ในช่วงเวลาก่อนปีพุทธศักราชที่ 29 ที่เมืองปาวา (สาธารณรัฐมัลละ)ทำให้ในเวลาต่อมานั้นเมืองนี้ได้กลายเป็นที่แสวงบุญแก่ศาสนิกชนที่นับถือศาสนาเชนทุกคน
สำหรับในการประกาศศาสนาเชนของพระมหาวีระนั้นในบางอย่างก็ยังมีความคล้ายคลึงและความเหมือนที่มีมาก่อนอยู๋แล้วในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู แต่ก็ยังคงมีหลายอย่างอีกเช่นกันที่เป็นคำสอนใหม่และรัดกุมกว่าในศาสนาพราหมณ์ ด้วยความที่พระมหาวีระนั้นทรงเป็นนักเทศน์ปาฐกถาที่มีความสามารถ จึงทำให้ผู้คนทั้งหลายเห็นความจริงและเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในศาสนาเชนและได้กลายมาเป็นสาวกมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในปัจจุบันนั้นมีผู้ศรัทธาและเป็นสาวกของศาสนาเชนอยู่ประมาณ 2,000,000 คน ซึ่งได้กระจัดกระจาย อยู่ในทุกรัฐของประเทศอินเดีย ซึ่งผู้ที่นับถือศาสนาเชนในส่วนมากแล้วจะอยู่ทางแถบภาคตะวันตกของประเทศอินเดีย เช่น มหาราษฎระ อุดรประเทศ มัธยมประเทศ ไมซอร์ ส่วนในต่างประเทศนั้นยังไม่มีศาสนิกชนที่มีการนับถือศาสนาเชน